ข้อดีข้อเสียของระบบเครือข่ายWAN
WAN ย่อมาจาก Wide Area Networks
คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกลมากเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร ซึ่งอาจใช้เชื่อมโยงระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5-2 Mbps ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล ผ่านสื่อที่เป็นตัวกลางรับ-ส่งข้อมูลเช่น สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม เป็นต้น WAN ต่างกับ LAN ตรงที่สามารถเชื่อมโยงได้ในระยะทางที่ไกลมากกว่า
ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายระยะไกล จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยง เครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ เช่นสายโทรศัพท์แบบอนาลอกสายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น
ประเภทของเครือข่าย WAN
เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. เครือข่ายส่วนตัว ( Private Network )
เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กรที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่เพื่อเชื่อมโยงสาขาต่าง ๆ ในระดับกายภาพ ( Physical Layer ) ของการเชื่อมต่อส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น ( เนื่องจากข้อกำหนดของประเทศต่าง ๆ โดยปกติแล้วจะไม่อนุญาตให้วางเครือข่ายเองได้
ข้อดีของเครือข่ายส่วนตัว ( Private Network )
- สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการข้อเสียของเครือข่ายส่วนตัว ( Private Network )
- ในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลาจะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ
- ถ้ามีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆจะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วยและอาจทำให้ไม่สามารถจัดหาช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
2. เครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network )
เครือข่ายสาธารณะ บางครั้งเรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม ( Value Added Network ) เป็นระบบเครือข่าย WAN ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่งไปหรือองค์กรอื่น ๆที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้ระบบเครือข่ายสาธารณะนิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก
ข้อดีของเครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network )
- ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว
- สามารถใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่
- มีบริการให้เลือกอย่างหลากหลาย
ข้อเสียของเครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network )
- ไม่สามารถเก็บรักษาความลับข้อมูลได้
รูปแบบของเครือข่าย WAN
1. เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)
เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบสายเช่า(lease line) ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดสองจุด เพื่อให้สามารถติดต่อส่งข้อมูลกัน โดยการเชื่อมวงจรอาจเชื่อมอยู่ตลอดเวลาก็ได้ เช่น ระบบโทรศัพท์ หรืออาจเป็นเครือ ข่ายอนาลอก เช่น โทรศัพท์ หรือ เครือข่ายดิจิตอล เช่น ISDN ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็น การเชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด ( point-to-point)
ข้อดีของเครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)
- มีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางกับผู้อื่น
ข้อเสียของเครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)
- ต้องมีการเชื่อมต่อกันทุก ๆ จุดที่มีการติดต่อกัน
2. เครือข่ายแบบสลับแพคเกต (Packet Switching Data Network)
เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุดมีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการส่งระหว่างจุดสองจุดออกเป็นชิ้นpacket)เล็กๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ การแบ่งข้อมูลออกเป็นpacket มีข้อดีคือทำให้สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าจะมีการติดต่อกันระหว่างกี่จุดก็ตาม รวมทั้งสามารถส่งแต่ละpacket ด้วยเส้นทางต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่ายและทำการรวมแต่ละpacket กลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว จึงเป็นการใช้ทรัพยากร (resource) ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
3. ISDN
บริการ Integrated Services Digital Network(ISDN) เป็นระบบเครือข่ายแบบดิจิตอลซึ่งสามารถทำการส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ อุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมเข้ากับ ISDN ได้โดยตรงผ่านทางตัวเชื่อมแบบดิจิตอลทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่านการแปลงระหว่างสัญญาณอนาลอกและดิจิตอลด้วยโมเด็มอีกช่องทาง(Channel)ของ ISDN มีความเร็วสูงถึง 64 Kbps บริการของ ISDN จะสมารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
3.1. Narrow Band ISDN (ISDN - N)
โครงข่ายทีพัฒนาเพิ่มเติมจากระบบโทรศัพท์เดิมโดยใช้สัญญาณดิจิตอลในการสื่อสารแทนการใช้สัญญาณอนาลอกผ่านคู่สายที่มีอยู่เดิม สามารถแบ่งได้ดังนี้
- Basic Rate Interface (BRI)
เป็นการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานของ ISDN โดยภายในหนึ่งคู่สาย จะมีช่องสัญญาณอยู่ 3 ช่อง ประกอบด้วย ช่องสัญญาณแบบ B( Bearer ) ซึ่งสามารถส่งได้ทั้งข้อมูลและเสียงด้วยความเร็ว 64 Kbps ต่อช่อง จำนวน 2 ช่อง และช่องสัญญาณแบบ D (Data) ซึ่งใช้ควบคุมช่องสัญญาณแบบ B จะส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 16 Kbps จำนวน 1 ช่อง
- Primary Rate interface (PRI)
จะเป็นการสื่อสารแบบความเร็วสูง โดยประกอบด้วย Bearer Channel จำนวน 23 ช่อง และ Data Channel ขนาดความเร็ว 64 Kbps อีก 1 ช่อง ทำให้ได้ความเร็วสูงถึง 1.544 Mbps นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานแบบ 30 Bearer channel บวกกับ 1 Data Channel สำหรับความเร็ว 2.048Mbps
3.2. Broadband ISDN (ISDN – B)
เป็นระบบ ISDN ที่ขยายขีดความสามารถโดยใช้โปรโตคอล ATM(Asynchronous Transfer Mode) ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 45 Mbps จนถึง 1 Gbps (Gigabit/Second) จึงสามารถใช้ในการส่งข้อมูลภาพและเสียงได้อย่างสมบูรณ์
4. ATM (Asynchronous Transfer Mode)
เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางเนื่องจากมีความสามารถในการรับรองการจัดหา bandwidth ทำให้เหมาะกับการใช้งานแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่ต้องมีการส่งข้อมูลจำนวนมากที่สัมพันธ์กันเครือข่าย ATM สามารถใช้กับสายเคเบิลที่มีอยู่แล้วที่ไม่ใช่สาย Fiber ได้ โดยเพียงแต่เปลี่ยน adapter และ switches ความเร็วจะอยู่ระหว่าง 25 ถึง 155 Mbps
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น